จับตา ร่าง พ.ร.บ.ล้มละลาย หาทางออกที่เป็นธรรมจากวิกฤติเศรษฐกิจ ก่อนเกิดสึนามิของการเป็นหนี้

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ร่วมกับสภาองค์กรผู้บริโภค จัดเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘การแก้ไข พ.ร.บ.ล้มละลาย เพื่อ ‘ชีวิตใหม่’ หลังโควิด-19’ เพื่อร่วมพูดคุยหาแนวทางปรับแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ล้มละลาย ฉบับที่ 11 พ.ศ. … ให้บุคคลธรรมดามีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยื่นล้มละลายโดยสมัครใจและเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ปราศจากหนี้สินได้อย่างเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

มาเถอะจะคุย: จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ คุยกับ สฤณี อาชวานันทกุล ว่าด้วย ‘โควิด วิกฤติหนี้’

จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ คุยกับ สฤณี อาชวานันทกุล จาก Fair Finance Thailand ว่าด้วย ‘โควิด วิกฤติหนี้? การจัดการหนี้ที่ต้องเตรียมตัวหลังจบโควิด-19’ บทสนทนาที่ชวนเฝ้ามองสถานการณ์หนี้สินอันมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่เกี่ยวพันกับโรคระบาด สถานการณ์เช่นนี้กระทบกับลูกหนี้รายย่อยอย่างไร นี่คือ 30 นาทีของการชวนสังคมเฝ้ามองอย่างลึกซึ้ง และหาทางออกร่วมกัน

ผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ สถานการณ์และความต้องการของลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

เอกสารผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ และสไลด์แถลงสรุปผลการศึกษา สถานการณ์และความต้องการของลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)

รายได้ลดลงเฉลี่ย 1 ใน 3 หนี้สินเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ผลวิจัยพบปัญหาโควิดซ้ำเติมวิกฤติหนี้

โควิด-19 ที่ระบาดในระลอกหลังสร้างผลกระทบมากกว่าที่คาด ตัวเลขคนติดเชื้อและเสียชีวิตยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรการป้องกันการระบาด เช่น การล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักงัน ประชาชนขาดรายได้ หนี้สินที่สูงอยู่แล้ว กลายเป็นระเบิดเวลาที่มีตัวแปรคือสายป่านสั้นยาวของแต่ละครัวเรือน